123 Robot สามารถเข้ารหัสได้โดยใช้ Touch Bottun (ปุ่มสัมผัส) ที่อยู่ด้านบนของหุ่นยนต์ บทความนี้จะแนะนำคุณเกี่ยวกับการ Touch Buttons (ปุ่มสัมผัส) ที่ช่วยทำ coding ได้ ในกรณีต่างๆ อาทิ:


การ 'ปลุก' 123 Robot

เปิดหุ่นยนต์ 123 โดยการผลักหุ่นยนต์ 123 เพื่อ "ปลุก" หุ่นยนต์ ไฟแสดงสถานะจะเริ่มกะพริบ และคุณจะได้ยินเสียงเพื่อระบุว่าหุ่นยนต์ 123 เปิดเครื่องแล้ว และพร้อมสำหรับการ code


Touch Bottons (ปุ่มสัมผัส) บน 123 Robot

เมื่อหุ่นยนต์ 123 "ตื่น" คุณสามารถเริ่มเขียนโปรเจ็ก code โดยใช้ touch buttons (ปุ่มสัมผัสที่ด้านบนของ 123 Robot) การกดปุ่ม touch button แต่ละครั้ง ถือเป็นคำสั่งแก่หุ่นยนต์ 123

ปุ่มต่างๆ มีรายละเอียดคำสั่ง ดังต่อไปนี้

123-Robot_forward-button__1_.png

กดปุ่ม Move เพื่อขับเคลื่อนหุ่นยนต์ 123 ไปข้างหน้า 1 ความยาวหุ่นยนต์หรือ "ก้าว" ไฟแสดงสถานะจะสว่างเป็นสีเขียว เมื่อกดปุ่มนี้ ก็จะได้ยินเสียง 'คลิก'

123-Robot_turn-right-button__1_.png

กดปุ่ม right เพื่อให้หุ่นยนต์ 123 หมุนตัวในตำแหน่ง 90 องศาไปทางขวา ไฟแสดงสถานะจะสว่างเป็นสีชมพู เมื่อกดปุ่มนี้ ก็จะได้ยินเสียง 'คลิก'

123-Robot_play-sound-button_1_.png

กดปุ่ม Sound เพื่อให้หุ่นยนต์ 123 ส่งเสียงแตร ไฟแสดงสถานะจะสว่างเป็นสีส้ม เมื่อกดปุ่มนี้ ก็จะได้ยินเสียง 'คลิก'

123-Robot_turn-left-button__1_.png

กดปุ่ม Left เพื่อให้หุ่นยนต์ 123 หมุนตัวในตำแหน่ง 90 องศาไปทางซ้าย ไฟแสดงสถานะจะสว่างเป็นสีฟ้า เมื่อกดปุ่มนี้ ก็จะได้ยินเสียง 'คลิก'

123-Robot_start-button__1_.png

กดปุ่ม Start เพื่อเริ่มโปรเจ็กของคุณ และสั่งการหุ่นยนต์ 123 ทำตาม การ Code ที่เราได้เรียงลำดับไว้ ตามการกด Touch Buttons (ปุ่มสัมผัส) ไฟแสดงสถานะจะสว่างเป็นสีเหลือง เมื่อกดปุ่มนี้ ก็จะได้ยินเสียง 'คลิก'


การสร้างโปรเจคด้วย Touch Buttons

Screen_Shot_2021-02-02_at_5.28.21_PM.png

หากคุณเลือกที่จะสร้างโปรเจกด้วย 'touch to code' (การกดปุ่มสัมผัสเพื่อcode) ไฟสีเขียวจะทำงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้มีการสร้างโปรเจ็กใหม่แล้ว กดปุ่มที่ต้องการเป็นลำดับขั้นตอนตามที่ต้องการให้ 123 Robot ทำงาน


การเร่ิมโปรเจ็ก

เวลาเปิดเครื่อง 123 Robot จะมีเสียงเพื่อให้ทราบว่า มีการเริ่มโปรเจ็ก เมื่อ 123 Robot ทำงานเสร็จสิ้นตามคำสั่ง ก็จะได้ยินเสียงว่าได้ทำงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ดังวิดีโอข้างล่าง เป็นตัวอย่างโปรเจ็กการสั่งให้ 123 Robot เดินก้าวไป 1 ก้าว

คำเตือน: ปุ่ม Start จะทำงานและขึ้นสีเขียวตลอดระหว่างเวลาที่ 123 Robot ยังเปิดและมีโปรเจ็กอยู๋


การเพิ่มรายละเอียดให้การโปรเจ็ก

ในการนี้ ให้กดปุ่มอื่นๆ เพิ่ม 123 Robot จะยังคงสร้างโปรเจ็กจนกว่าจะมีการสั่งลบทิ้ง หรือการปิดหุ่นยนต์ ในระหว่างนี้ นักเรียนสามรถกดปุ่มเพื่อทำการcode ทดลองดูการทำงานของหุ่นยนต์ ปรับคำสั่ง โดยค่อยๆ ทำแต่ละนิดแต่ละหน่อย ทั้งนี้ หากปุ่มคำสั่ใดถูกกดไปแล้ว และบันทึกเป็นการ code ในโปรเจ็ก ก็จะไม่สามารถแก้ไขได้ ในการเปลี่ยนโปรเจ็กต์ของคุณ คุณต้องเขย่า 123 Robot เพื่อลบโปรเจ็กต์และเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง


การใช้หุ่นยนต์ 123 กับ 123 field (แผ่นรองของ 123)

1_button_press_equals_1_movment.png

หนึ่งตาราง = ขนาดความกว้างของหุ่นยนต์

123 Field ประกอบด้วยชุดของสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละจตุรัสมีขนาดเท่ากับหุ่นยนต์ 1 ตัว ซึ่งสอดคล้องกับ 1 “ก้าว” ของการเดินของ123 Robot การกดปุ่ม Move จะทำให้ 123 Robot ขับเคลื่อนไปข้างหน้า 1 ก้าว กล่าวคือ หนึ่งช่องสี่เหลี่ยมบน 123 Tile (แผ่นเล่น 123 tile) ดังแสดงในภาพด้านล่าง

เรียงลูกศรและหยัก

line-up-123-robot3-2.png

การที่ 123 Robot จะสามารถเดินทางเป็นเส้นตรงได้ ต้องอาศัยการให้ลูกศรทิศทาง (arrows) ตรงกับทางเดินของลูกศร (notches) ซึ่งอยู๋บนแผน 123 (tile) โดยเฉพาะเวลาเริ่มโปรเจ็ก


การปิด 123 Robot

หากต้องการปิดหุ่นยนต์ 123 ให้กดปุ่ม 'start' ค้างไว้ 3 วินาที ไฟแสดงสถานะจะแสดงเป็นสีเหลืองก่อน และคุณจะได้ยินเสียง'คลิก' จากนั้นไฟแสดงสถานะจะดับลง และคุณจะได้ยินเสียงปิดเครื่อง

120x120.png

123 Robot จะปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อเสียบปลั๊กชาร์จ หรือหาก 123 Robot ไม่ได้ทำงาน (inactive เป็นเวลา 5 นาที ซึ่งจะมีเสียงปิด หากต้องการเปิด 123 Robot อีกครั้ง ให้กดปุ่ม wake (ปลุก) อีกครั้ง คุณสามารถกำหนดระยะเวลาของเวลาที่หุ่นยนต์ไม่ได้ทำงาน (inactive) หรือใช้งานในแอป VEX Classroom


การสอนการเรียงลำดับคำสั่งด้วย 123 Robot

coding-fundamentals_lab2_04.png

การจัดลำดับเป็นทักษะพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่นักเรียนควรฝึกฝนทุกครั้งที่สร้างโปรเจ็ก ลำดับ คือลำดับในการทำงานของหุ่น เพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่ต้องการได้อย่างที่คาดไว้ การเรียงลำดับคำสั่งควรเป็นไปอย่างถูกต้อง การขับรถเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส อาจจะฟังดูง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต้องมีคำสั่งการเดินและหมุนรวมแปดคำสั่ง สลับกันไปมา เพื่อเดินหน้า และเลี้ยว

ผู้ใหญ่ที่ควบคุมการสอนหรือการฝึก อาจช่วยเขียนรายการคำสั่งเป็นขั้นตอนแต่ละขึ้นตอน อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนที่เพิ่งหัดอ่าน อาจจะเป็นงานที่ท้าทายมากให้เด็กๆ อ่านลิสต์ สำหรับเด็กกลุ่มนี้ การใช้ปุ่มต่างๆ บน 123 Robot ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และทำให้เด็กๆ เรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักาณ์ต่างๆ ได้ ดังนี้ อาทิ ลูกศร และรูปภาพแสดงการเคลื่อนไหว ทำให้นักเรียนเข้าใจลำดับการวางคำสั่ง แล้วจึงกด ปุ่มต่างๆ เพื่อให้ตรงกับรูปภาพ เหล่านี้ดจะช่วยสอนให้นักเรียนคิดเป็นลำดับ และสามารถใช้สัญลักษณ์ช่วย ในการวางแผน coding ได้ สัญลักษณ์เหล่านี้ถือพื้นฐานของภาษาโปรแกรมมิ่ง ซึ่งปรกติแล้ว ลำดับเซ็ทของคำสั่งแต่ละชุด จะช่วยในการโปรแกรมการทำงานแต่ละแบบไปโดยเฉพาะ ความสะดวกและการสร้างความมั่นใจ ประกอบกับการสอบการจัดลำดับให้แก่นักเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย จะช่วยพวกเขาให้พร้อมสำหรับความท้าทายของ codingในอนาคต รวมทั้งตอบสนองกับหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับการเข้าใจตรรกะของการจัดลำดับ (sequencing) อาทิ ในวิชาคณิตศาสตร์ ไปจนถึงภาษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์

For more information, help, and tips, check out the many resources at VEX Professional Development Plus

Last Updated: