ผู้บริหารหลายคนอยู่ในตำแหน่งที่ต้อง "วัดผลลัพธ์" ของหลักสูตรใหม่หรือการซื้อหรือโครงการริเริ่มในการใช้งานผลิตภัณฑ์ คำถามคือ เราจะแปลงตัวชี้วัดในกรณีประสบการณ์เรียนรู้ ดังเช่น VEX GO ได้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่เห็นได้คืออุปกรณ์สามารถนำมาใช้ในกิจกรรมได้หลากชนิด นอกจากนี้ การวัด "ความสำเร็จ" ของห้องเรียน VEX GO อยู่ที่ การส่วนร่วมอย่างแข็งขันของนักเรียนและผู้สอน ทั้งในการต่อชิ้นส่วน การทำ coding การทดลอง และการเรียนรู้ผ่านการดำเนินการ การตั้งคำถามและร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด
ตัวอย่าง กรณีเคสศึกษา
-
ศูนย์การเรียนรู้ VEX GO - มีการตั้งค่า VEX GO kit ให้นักเรียนใช้กับกิจกรรม STEM ตลอดทั้งปีการศึกษา ผู้สอนมีส่วนในการเสนอกิจกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ชั้นเรียนกำลังเรียน ส่งเสริมการค้นคว้าของผู้เรียน กรณนี้ ถือเป็นความสำเร็จของผู้สอนที่มีประสบการณ์ ที่อาจเพิ่งเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ และอาจลังเลที่จะใช้ STEM Labs กับนักเรียน
-
การสอน STEM Labs ในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ผู้สอนเลือกหน่วยห้องปฏิบัติการ STEM ที่สอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตรของชั้นเรียนที่กำลังเรียนอยู่ และใช้ STEM Labs เป็นบทเรียน "เสริม" ในวิชาวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ในระหว่างบทเรียนเหล่านี้ ผู้สอนจะมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก ในขณะที่นักเรียนร่วมกันทำงานในกลุ่มเล็กๆ เพื่อต่อชิ้นส่วน ดีไซน์และทดลองการออกแบบของกลุ่ม ด้วยเครื่องมือ VEX GO Kits แบบจำลอง VEX GO มักจะถูกเก็บไว้ร่วมกันเมื่อเวลาผ่านไป และนักเรียนก็ใช้ร่วมกับกิจกรรม VEX GO ในเวลาที่เลือก
-
ชั้นเรียน STEM ใช้ VEX GO ในช่วง "พิเศษ" ของคลาส - ครูสอน STEM จะนำนักเรียนทำกิจกรมในห้องปฏิบัติการ STEM ตลอดหลักสูตรของปีการศึกษา โดยมีการมอบหมายแล็บต่างๆ ให้นักเรียนดำเนินการ เนื่องจากชุดอุปกรณ์เดียวกันนี้ สามารถนำมาใช้ได้ซ้ำได้ตลอดทั้งวัน นักเรียนทุกระดับชั้นจึงมีโอาสที่จะสัมผัสและเรียนรู้จากอุปกรณ์นี้
นักเรียนแต่ละคนมีส่วนร่วม ได้สัมผัสและใช้สื่อการสอน ระหว่างที่ครูพาชั้นเรียนทำแล็ปการเรียนการสอน โดยที่การใช้งานแต่ละครั้ง มีความแตกต่างทั้งด้านเป้าหมาย และเนื้องหา จึงนับว่ามีความหลากหลายอย่างมาก ตัวชี้วัดที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ สำหรับผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้สังเกตุ อาจมีดังนี้
จุดสังเกตุสำหรับห้องเรียนที่ใช้ VEX GO ควร สังเกตุ:
- นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็ก หรือไม่
- นักเรียนทำตามคำสั่งเพื่อสร้างแบบจำลองร่วมกัน หรือไม่
- ผู้สอนแนะนำแนวคิด ผ่านการสนทนาและหารือร่วมกัน หรือไม่
- นักเรียนนั่งกระจาย เพื่อทำงานของกลุ่ม ไปตามพื้นที่ต่างๆ ในห้องเรียน หรือไม่
- ผู้สอนได้สาธิตลงมือปฏิบัติ เพื่อช่วยเริ่มแนะนำแต่ละบทเรียน หรือไม่
- นักเรียนได้ทดลอง ตั้งค่าที่แตกต่างกัน สำหรับการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนบนพื้นผิวที่ต่างกัน หรือไม่
- นักเรียนใช้อุปกรณ์ที่สร้างหุ่นยนต์เพื่อทำงานโดยสำเร็จ หรือไม่
- มีกิจกรรม "การแข่งรถ" ในห้องเรียน หรือไม่
- นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการอธิบายสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ภาษากายร่วมด้วย หรือไม่
- ครูในบทบาท Facilitator ได้สำรวจการทำงานรอบๆ ห้องเรียน โดยไม่อยู่กับที่ทั้งชั่วโมง หรือไม่
จุดสังเกตุสำหรับห้องเรียนที่ใช้ VEX GO ควร ได้ยิน สิ่งต่อไปนี้
- โดยรวม นักเรียนการหารือกิจกรรม มากกว่าครูเป็นผู้ชี้นำ หรือไม่
- นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นเต้น หรือไม่
- นักเรียนถามคำถามกันภายในกลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับมอบหมาย หรือไม่
- ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอภิปรายด้วยคำถามปลายเปิด หรือไม่
- นักเรียนได้แก้ปัญหาผ่านการสนทนาและการอภิปราย หรือไม่
- VEX GO Motors ทำงานในเวลาและสถานที่ หลากหลาย หรือไม่
- เด็กๆ ร่วมกันเชียร์หุ่นยนต์ที่ตนมีบทบาทให้ “ชนะ” การแข่งขัน หรือไม่
- ครูจัดกลุ่มใหม่กับนักเรียนรอบห้องเพื่อหารือเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียน ระหว่าง “ช่วงพักกลางเกม” หรือไม่
- นักเรียนพูดคุยถึงประเด็นท้าทายและอธิบายแนวคิดตามที่ตนได้สังเกตุ หรือไม่
- ผู้สอนได้ชมเชยนักเรียนในการมีบทบาททำงานร่วมกัน และให้ข้อสังเกตุเชิงบวกเกี่ยวกับนักเรียน หรือไม่
- นักเรียนและครูได้ฉลองการไขปัญหาด้วยกัน หรือไม่